AdminLTELogo
AdminLTELogo

ชุมชนบ้านดอนหวาย

ชุมชนบ้านดอนหวาย

ดอนหวาย เป็นชุมชนความโดดเด่นด้วยแหล่งกำเนิดของหิน ดิน และน้ำ ที่อุดมด้วยแร่ธาตุจากภูเขาไฟอังคาร ชุมชนเรียนรู้การจัดการพื้นที่และแหล่งน้ำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยมุ่งเน้นการผลิตข้าวหอมมะลิและข้าวหอมมะลิแดง การใช้ศักยภาพทางด้านดินอันเป็นแหล่งหินปูนที่เป็นอาชีพสมัยก่อน ร่วมกับการใช้ภูมิปัญญาอันหลากหลายจึงก่อให้เกิดรายได้แบบยั่งยืนในชุมชน

วีดีโอ

ความสัมพันธ์ระหว่างแหล่งภูมิศาสตร์กับข้าวหอมมะลิดินภูเขาไฟบุรีรัมย์

ข้าวหอมมะลิดินภูเขาไฟบุรีรัมย์ เป็นข้าวที่ไวต่อช่วงแสง สายพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และพันธุ์ กข 15 สามารถปลูกได้ปีละครั้งในฤดูนาปี โดยปัจจัยทางสภาพแวดล้อมที่ทําให้ข้าวหอมมะลิเกิดความเครียด เนื่องจากการขาดน้ำในระยะข้าวสะสมแป้ง และอุณหภูมิต่ำในระยะสุกแก่ มีผลทําให้ปริมาณสารหอมระเหย 2-Acetyl-1-Pyrroline (2AP) เพิ่มขึ้นได้

ลักษณะพื้นที่การปลูกข้าวเป็นพื้นที่กลุ่มชุดดินที่เกิดจากการสลายตัวของหินภูเขาไฟ อันเป็นคุณสมบัติเด่นของดิน คือ มีปริมาณฟอสฟอรัสอยู่ในระดับ 17–29.7 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และปริมาณโพแทสเซียมอยู่ในระดับ 81.3-208.8 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งเหมาะสมต่อการปลูกข้าวหอมมะลิ ส่งผลทําให้ข้าวหอมมะลิดินภูเขาไฟบุรีรัมย์ มีเมล็ดข้าวเรียวยาว ขาวใส มีความวาวเป็นเงา เลื่อมมัน ท้องไข่น้อย อัตลักษณ์เฉพาะ คือ มีฟอสฟอรัส 1,578-3,109 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม สูงกว่าข้าวหอมมะลิทั่วไปร้อยละ 109-226 และมีแคลเซียม 66.25-110.70 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม สูงกว่าข้าวหอมมะลิทั่วไป ร้อยละ 64-149

ผลิตภัณฑ์ข้าวหอมมะลิ

นวัตกรรมแปรรูปผลิตภัณฑ์เจากข้าวหอมมะลิ

วิถีชีวิตชุมชน

การถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูปข้าว

Google map